Last updated: 2019-10-09 |
ปัจจุบัน Information Technology (IT) ได้ถูกนำมาใช้ในธุรกิจ Startup อย่างแพร่หลาย นำมาซึ่งนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้ผู้ใช้ได้ประทับใจอยู่เสมอเลยนะครับ แต่ละธุรกิจต่างต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพื่อที่จะสามารถแข่งขันกับธุรกิจอื่นและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตรงกับสถานการณ์และความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปตลอดเวลาได้อย่างรวดเร็ว
⠀
วันนี้ น้อง Inno จะพาไปทำความรู้จักกับแนวคิดสุดฮิต ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในองค์กรสมัยใหม่ และเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำธุรกิจ Startup โดยเฉพาะ Tech Startup หรือองค์กรที่ต้องสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว นั่นก็คือ ‘Agile’ (อไจล์) นั่นเองครับ
⠀
น้อง Inno ขอบอกก่อนเลยว่า เจ้า Agile นี้ ไม่ใช่กระบวนการ (process) ไม่ใช่วิธีการ (methodology) และไม่ใช่ โครงร่างซอฟต์แวร์ (framework) หรือขอบเขตของระบบงานที่มีข้อกำหนดชัดเจน อย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจนะครับ
⠀
อ้าว! แล้ว Agile คืออะไรล่ะ?
⠀
หากมองในภาพรวมนั้น Agile เป็น ‘แนวคิดเชิงประจักษ์ (Empirical)’ ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ครับ เพราะในแรกเริ่มนั้น Agile เกิดขึ้นมาจากบริษัทที่ทำงานเชิง Software Development เป็นหลัก
แต่ในปัจจุบัน แนวคิดนี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย โดยไม่ได้จำกัดว่าใช้ได้เฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์สาย Software เท่านั้น เพราะ Agile มุ่งเน้นเรื่องการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่ตลอด เพื่อตอบสนองผู้ใช้งาน Agile จึงถูกนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจหลากหลายประเภทนั่นเอง
⠀
ก่อนหน้านี้ องค์กรส่วนใหญ่มักทำงานแบบ Waterfall Process คือ อาศัยระบบ Project Management ที่มี Project Manager และทีมมานั่งวางแผนกันก่อนเริ่มโปรเจกต์ โดยการคิดทุกอย่างตั้งแต่เริ่มจนถึงจบโปรเจกต์ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะวางแผนทุกอย่างได้ลงตัวและแม่นยำ อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของการทำงานแบบ Waterfall Process ก็คือ มักทำให้พบข้อผิดพลาดเมื่อสายไป เพราะการทดสอบผลิตภัณฑ์นั้นอยู่ในขั้นตอนการ test ซึ่งเป็นขั้นตอนท้าย ๆ ของโปรเจกต์ ที่การออกแบบและพัฒนานั้นเกือบสมบูรณ์แล้ว การแก้ไขจึงทำได้ยาก และบางครั้งก็ถึงกับต้อง
รื้อทำใหม่ ไม่ดีเลยใช่ไหมครับ…
⠀
ด้วยเหตุนี้ แนวคิด Agile จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อจัดการกับปัญหาเหล่านี้ในองค์กรนั่นเองครับ ทำให้ได้การทำงานรูปแบบใหม่ ที่อาศัยวิธีการพัฒนาด้วยการทำซ้ำทบกันไปเรื่อย ๆ โดยกำหนดเป้าหมายระยะสั้น วางแผนและทำงานไปทีละนิด ๆ คอยประเมินว่าควรไปต่อหรือไม่ ลูกค้าจะได้ทดลองใช้ในแต่ละรอบของการทำซ้ำ และนำผลตอบรับไปปรับปรุงหรือพิจารณาในรอบถัดไป เมื่อเจอปัญหาจะสามารถแก้ไขได้ง่ายขึ้น หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง Requirment ก็สามารถรับมือได้ดีขึ้น จึงเหมาะสำหรับธุรกิจ Startup ในยุคดิจิทัลที่ต้องจัดการกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลามากเลยล่ะครับ
ในบ้านเราตอนนี้ ก็มีหลายองค์กรที่นำ Agile ไปปรับใช้ แล้วได้ผลลัพธ์ที่น่าประทับใจกลับมามากมายทีเดียวเลยนะครับ น้อง Inno ขอยกตัวอย่าง เช่น ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ที่เริ่มนำ Agile ไปใช้ในโครงการเกี่ยวกับเงินกู้บ้านเป็นโครงการแรก มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาการเก็บข้อมูลบนกระดาษให้มาอยู่บน Cloud โดยเปิดช่องทางให้ลูกค้าสามารถอัพโหลดเอกสารยื่นเรื่องธุรกรรมได้ด้วยตนเองผ่าน Website
⠀
แต่… ทุกอย่างก็ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิดนะครับ… เพราะเมื่อนำโครงการนี้ไปใช้จริง ลูกค้ากลับรู้สึกไม่ประทับใจ ผสมกับที่ NDID หรือการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่เกิดขึ้นในเวลานั้น ดังนั้น ทีมงานที่ทำโครงการนี้จึงถอยกลับมาทบทวนและศึกษาใหม่จาก Lesson Learn จนได้เป้าหมายใหม่ นั่นคือ การส่งมอบประการณ์ที่ดีจาก Sale Agents ของธนาคารไปสู่ลูกค้าของกรุงศรี เกิดเป็นโครงการรูปแบบใหม่ จากเดิมที่เน้นให้ลูกค้าทำทุกอย่างได้ด้วยตนเอง เปลี่ยนเป็นเน้นช่วยเหลือ Sale Agent ของธนาคาร ให้สามารถติดตามสถานะ จัดการเกี่ยวกับเอกสารของลูกค้าในการกู้บ้านได้แทน ทำให้ธนาคารกรุงศรีอยุธยาสามารถสร้างความประทับใจให้กับลูกค้าได้อีกครั้ง และเมื่อโครงการนี้ประสบความสำเร็จด้วย Feedback ที่ดี ก็ตามมาด้วยขั้นตอน Scaling เพื่อให้ทีมอื่น ๆ ภายในกรุงศรี นำ Agile ไปประยุกต์ใช้ต่อไป เจ๋งสุด ๆ ไปเลยครับ
⠀
ทุกคนได้เห็นถึงพลังของแนวคิด Agile กันแล้วใช่ม้า ว่าสามารถช่วยให้ธุรกิจของเราพัฒนาอย่างก้าวกระโดดได้มากขนาดไหน น้อง Inno ขอยืนยันอีกเสียง จากผลการสำรวจของ Aon Hewitt Thailand (องค์กรผู้นำระดับโลกในการให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์) ที่พบว่า 84% ขององค์กรในปัจจุบันมองว่าแนวคิด Agile เป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรต้องทำ และในปี 2019 นี้ Aon Hewitt Thailand ยังได้เพิ่มหมวด Agility เป็นหนึ่งในเกณฑ์พิจารณาการเป็นสุดยอดนายจ้างดีเด่น (Best Employer) อีกทั้งเป็นธีมงานหลักในงานประกาศรางวัลปี 2019 ด้วยนะครับ เป็นเรื่องสำคัญ ที่ธุรกิจน้อยใหญ่ต้องให้มากเลยครับ!
หลักการทำงานแบบ Agile สรุปง่าย ๆ ได้ดังนี้ครับ