Last updated: 2019-10-09 |
เทศกาลกินเจปีนี้ นี้พี่ๆคนไหนได้ร่วมบ้างคร้าบ เมื่อวันก่อนน้อง Inno ได้มีโอกาสลองชิมอาหารเจ หือ….ถือว่ารสชาติเยี่ยม ไม่ต่างจากอาหารธรรมดาเลยนะคร้าบ แต่พี่ๆรู้รึเปล่าครับว่าอาหารที่ประเภท เนื้อเทียม นี่เค้าทำกันยังไง และทำไมอุตสาหรรมในการผลิตอาหารประเภทนี้ถึงเติบโตอย่างไม่น่าเชื่อ เป็นเพราะอะไรนั้น น้อง Inno จะเล่าให้ฟังครับ
Meat substitute หรือ Meat Analogue หรือเนื้อเทียม ถูกพัฒนาขึ้นเนื่องจากปัญหาการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก โดยคาดการณ์ว่าในปี 2593 จะมีประชากรเพิ่มขึ้นถึง 9.5 พันล้านคน (จากเดิม 7.7 ล้านคนในปี 2562) ทำให้มีความต้องการอาหารมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่ในการทำปศุสัตว์ที่ได้ลุกล้ำผืนป่า อีกทั้งการปล่อยก๊าซมีเทนจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ที่เป็นอีก 1 สาเหตุหลักของสภาวะ Cimate Change จึงทำให้อุตสาหกรรมอาหารจะต้องปรับตัว หันมาสร้างอาหารจากพืชที่ให้คุณค่าทางอาหาร และรสสัมผัสเสมือนเนื้อสัตว์จริง ซึ่งในปี 2560 ธุรกิจ Meat substitute มีมูลค่าตลาดรวมถึง 4.1 ล้านเหรียญ และคาดการณ์ว่าในปี 2569 จะมีมูลค่าสูงถึง 8.1 ล้านเหรียญ จึงทำให้มีผู้เล่นในตลาดหลายบริษัทสนใจที่จะพัฒนาเนื้อสัตว์ที่ไม่ใช่เนื้อ หนึ่งในนั้นคือ Impossible Foods
จุดเริ่มต้นของ Impossible Foods เกิดมาจากห้องวิจัยในซิลิคอน วัลเล่ย์ ซึ่ง เมื่อปี 2552 Patrick O’ Brown อดีตนักชีวเคมี มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งและ CEO Impossible Foods เกิดความท้าทาย ที่จะสร้างผลิตภัณฑ์ที่จูงใจคนรักการกินเนื้อสัตว์เป็นชีวิตจิตใจ ให้ผลิตเนื้อเทียมที่ไม่ว่าใครได้กิน และรู้สึกไม่ต่างจากการกินเนื้อวัว ในช่วงเริ่มต้นนั้น ได้รับการสนับสนุนเงินทุนมากกว่า 180 ล้านเหรียญดอลลาร์ จากยักษ์ใหญ่ในโลกเทคโนโลยีอย่าง Bill Gates, Google และในปี 2562 ได้ระดมทุนถึง 506 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีมูลค่าของธุรกิจราวๆ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนประกอบที่สำคัญในการผลิต ของ Impossible Foods ถั่วเหลือง มันฝรั่ง และ Heme ซึ่งเป็นหนึ่งในโมเลกุลที่พบได้ทั่วไปและเป็นที่รู้จักดีว่าเป็นโมเลกุลที่คอยจับออกซิเจนในเลือด Heme พบได้ในอาหารทั่วไปและจะมีมากในกล้ามเนื้อสัตว์ ยิ่งมี Heme เยอะก็จะส่งผลให้รสชาติของเนื้อนั้นอร่อยอย่างมีเอกลักษณ์ ซึ่งมีความปลอดภัยและจำเป็นต่อร่างกาย
ทั้งนี้ Impossible Foods ได้พัฒนาการผลิต Heme ที่มีความยั่งยืนและราคาถูก และไม่ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของปศุสัตว์ โดยบริษัทใช้วิธีทางวิศวพันธุกรรมและหมักยีสต์เพื่อผลิตโปรตีน Heme ที่ค้นพบได้ในพืชทั่วไป ชื่อว่า soy leghemoglobin นอกจากนี้ การผลิต Impossible Burger ยังใช้น้ำน้อยกว่า 75% และปล่อยก๊าซเรือกระจกน้อยกว่า 87% อีกทั้ง ยังใช้พื้นที่น้อยกว่าการเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตเนื้อถึง 95%
ในปี 2561 Impossible Burger ภายใต้ Impossible Foods มีมากกว่า 3,000 สาขาในประเทศสหรัฐฯ ฮ่องกง และมาเก๊า ปัจจุบันนี้ Impossible Burger ได้ให้บริการในร้านอาหารที่หลากหลายตั้งแต่ Taqueria และ Food trucks ไปจนถึงร้านอาหารชั้นนำ และเมื่อกลางปี 2562 Burger King ก็ออกมาย้ำถึงแนวคิดในการขยายตลาดสู่กลุ่มคนกินมังสวิรัติอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว Impossible Whopper เบอร์เกอร์ไร้เนื้อสัตว์ ซึ่งทางร้านให้ลูกค้าในสหรัฐอเมริกาไม่กี่สาขาได้ทดลองชิมเป็นครั้งแรกเมื่อ April Fools’ Day ที่ผ่านมา โดยไม่ได้บอกว่าเบอร์เกอร์นั้นเป็นสูตรไร้เนื้อสัตว์ แน่นอนว่ากระแสตอบรับเป็นไปด้วยดี กับสโลแกน “100% Whopper, 0% beef” ภายใต้ภาพลักษณ์เบอร์เกอร์ชิ้นใหญ่ที่ถูกปรุงแต่งราวกับว่ายังมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบหลักเช่นเดิม
เมื่อเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารระหว่าง Impossible Burger และ Whopper ของ Burger King พบว่า
==Impossible Burger (ทำจากพืช) มีCalories อยู่ที่ 630 Fat 34g. Protein 25g. ราคา 5.19เหรียญ
== Whopper (ทำจากเนื้อวัว) มีCalories อยู่ที่ 660 Fat 40g. Protein 28g. ราคา 4.19เหรียญ
แม้ปัจจุบัน Meat substitute ยังมีราคาสูงกว่าเนื้อจริง แต่ก็ได้รับคุณประโยชน์ที่ใกล้เคียง แถมไม่เสี่ยงภาวะโรคที่เกิดจากสัตว์ ในอนาคตน้อง Inno เชื่อว่าจะสามารถพัฒนาให้มีต้นทุนที่ต่ำลง และจะมีเนื้ออื่นๆ รวมถึงเนื้อปลา ให้เราได้มีอาหารทางเลือกที่มากขึ้นและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วยนะครับ ตอนนี้น้อง Inno ยังไม่เคยลิ้มลอง Impossible Burger หรือ Meat substitute อื่นๆ นอกจากโปรตีนเกษตร พี่ๆคนไหนมีโอกาสได้ลิ้มลองบ้างแล้ว มาแบ่งปันประสบการณ์กันด้วยนะคร้าบบ
เกร็ดความรู้
รู้หรือไม่ Bill Gates ปวารณาตัวเป็น Vegan ซึ่งคนกลุ่มนี้นอกจากจะไม่บริโภคเนื้อสัตว์ โดยเน้นรับประทานพืชผักผลไม้แล้ว คนกลุ่มนี้ยังรับประทานอาหารที่ไม่เบียดเบียนสิ่งมีชีวิตใด ๆ ทั้งสิ้น จึงต้องงดบริโภคนม เนย ชีส ไข่ รวมถึงน้ำผึ้ง ยีสต์ และเจลาติน สำหรับคนที่เคร่งครัด ก็จะไม่สวมใส่เสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า และใช้เครื่องสำอางที่ทำมาจากสัตว์ หรือทดลองจากสัตว์ด้วย
แหล่งที่มา
https://www.komchadluek.net/news/foreign/375682
https://en.wikipedia.org/wiki/Meat_analogue
https://www.fostat.org/meat-analogue/
https://49429apassara.blogspot.com/2019/08/meat-analogue.html
https://positioningmag.com/1248339?fbclid=IwAR3Lhnol7LeagWR747y208Mfcxy0XAjomPLQprA23_27IGMe2tJxNdvkXpQ
https://blog.bluebasket.market/2017/06/02/impossibleburger/
https://sdthailand.com/2018/08/impossible-foods-mission-possible-2035/
https://www.alliedmarketresearch.com/meat-substitute-market